ไมโครเวฟที่ใช้ปลอดภัยดีหรือเปล่า |
ในโลกแห่งเทคโนโลยี
อะไรๆ
ที่เคยยุ่งยากก็ดูเหมือนจะง่ายเพียงปลายนิ้วไปเสียหมด
และสำหรับเรื่องอาหารแล้ว
ผู้คนส่วนใหญ่เลือกที่จะฝากเอาไว้กับตู้สี่เหลี่ยมเล็กๆ
อย่างเจ้าไมโครเวฟ
ที่ย่นระยะเวลาการตระเตรียมให้สั้นลงได้
มีแค่เพียงนิ้วชี้นิ้วเดียว
เรื่องของอาหารก็ไม่ใช่เรื่องใหญ่อีกต่อไป
แต่แค่ชั่วข้ามคืนเจ้าตู้สี่เหลี่ยมที่ว่าก็กลายเป็นสิ่งที่สังคมให้ความกังขาเสียแล้ว
จากกระแสข่าวที่ถาโถมเข้ามาว่า
ไมโครเวฟทำให้ตาบอดและเกิดมะเร็ง
จนหลายคนพานเลิกใช้ไมโครเวฟไปเสียเฉยๆ
ไปร่วมพิสูจน์ความจริงกันหน่อยเป็นไง
ว่าในกอไผ่มีอะไรจริงหรือเปล่า
คลื่นไมโครเวฟถูกค้นพบด้วยความบังเอิญตั้งแต่ปี
ค.ศ. 1945
เมื่อช่างซ่อมเรดาห์ปรับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในช่วงความถี่หนึ่ง
ก็พบว่ามีช่วงหนึ่งที่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสามารถทำให้โมเลกุลของอาหารสั่นสะเทือน
และทำให้
อาหารสุกได้
สองปีหลักจากนั้นจึงมีการประดิษฐ์คิดค้นเตาไมโครเวฟขึ้นมา
โดยหลักการทำงานคือ
เมื่อเครื่องกำเนิดคลื่นหรือแมกนีตรอนปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
ซึ่งมีคความถี่
2,450
เมกะเฮิรตซ์ออกมา
โมเลกุลของน้ำที่อยู่ในอาหารก็จะเกิดการสั่นสะเทือนในความถี่
2,450
ล้านครั้งต่อ
วินาที
คลื่นไมโครเวฟจะทะลุทะลวงอาหารลงไปลึก
1-1.5 นิ้ว
ทำให้โมเลกุลส่วนนั้นสั่นสะเทือนและเกิด
ความร้อน
แล้วจึงแผ่ไปสู่อาหารทั้งก้อน
อาหารที่ปรุงด้วยไมโครเวฟจึงไม่ไหม้เกรียม
ต่างจากการปรุงด้วยตู้อบที่ให้ความความร้อนโดยตรงจากขดลวดที่แผ่ไปสู่อาหาร
ทำให้อาหารค่อยๆร้อนขึ้น
แต่เนื่องจากกระแสข่าวที่บอกต่อๆ
กันว่า
ไมโครเวฟอาจมีส่วนให้ผู้ใช้ตาบอดหรือเป็นมะเร็งได้
จึงทำให้หลายๆ
คนเกิดอาการตื่นตระหนกเป็นการใหญ่
บางรายถึงขนาดนำไปคืนร้านค้าเลยทีเดียว
นายแพทย์ปัญญา
กีรติหัตถยากร
รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
จึงได้ออกมาชี้แจงในเรื่องดังกล่าวว่า
"กระบวนการที่ตู้กำลังทำงานจะมีรังสีบางส่วนออกมาบ้างตามรูระบายความร้อนหรือความไม่สนิทของตู้
แต่ก็ถือว่ามีโอกาสน้อยมาก
เพราะคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าของไมโครเวฟจะกระทบโลหะภายในโดยตรงไม่สามารถมุดไปมาได้
นอกจากนี้ค่ามาตรฐานที่หลายประเทศใช้อยู่นั้นก็กำหนดเอาไว้ที่ระยะ
5
เซนติเมตร
หมายความว่าในระยะ
1-5
เซนติเมตร
แม้จะมีการรั่วของรังสี
แต่ค่าของรังสีที่รั่วออกมาก็จะไม่เกินค่ามาตรฐาน
คือการรั่ว
ไม่เกิน
1
มิลลิวัตต์ต่อตารางเซนติเมาตรในเตาใหม่และไม่เกิน
5
มิลลิวีตต์ต่อตารางเซนติเมตรในเตาที่ผ่านการใช้งานมาแล้ว
ดังนั้นถ้าหากเรายืนอยู่ห่างเตาอย่างน้อย
1 เมตร
โอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงก็จะลดลงไปอีก
100 เท่า"
"แต่ที่กล่าวกันว่าความร้อนจากไมโครเวฟอาจทำให้เกิดตาบอดได้นั้น
ยังไม่มีรายงานวิจัยมายืนยัน
แต่ก็มีความเป็นไปได้
โดยเฉพาะไมโครเวฟในระบบอุตสาหกรรมที่ต้องเดินเข้าตู้ใหญ่ๆ
แต่สำหรับไมโครเวฟในครัวเรือนแล้วไม่มีปัญหาอะไร
เพราะโอกาสที่เราจะใช้ตาสัมผัสโดยตรงมีน้อยมาก"
"ส่วนเรื่องของมะเร็งนั้นก็ยังไม่มีรายงานยืนยันชัดเจน
แต่เราอาจบอกได้ว่าคลื่นไมโครเวฟนั้น
ก็เหมือนกับคลื่นแสงอาทิตย์
คือไม่ได้เป็นรังสี
จึงไม่ได้ส่งผลทำลายหรือสะสมในร่างกายของคนเหมือนกัมมันตภาพรังสี
ดังนั้นโอกาสที่จะก่อให้เกิดมะเร็งจึงมีความเป็นไปได้น้อยมาก"
และเพื่อความมั่นใจ
หากใครที่คิดจะซื้อไมโครเวฟในตอนนี้
ก็มีสิ่งที่ควรพิจารณาคือ
สังเกตว่าเตาไมโครเวฟนั้นได้รับมาตรฐานการับรองคุณภาพหรือไม่
และในการใช้ก็จำเป็นต้องศึกษาคู่มือการใช้อย่างละเอียดและอีกปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อคุณภาพของ
เตาไมโครเวฟ
ก็คือ
การดูแลรักษาในระหว่างการใช้งาน
การทำความสะอาดทุกครั้งหลังใช้ก็จะช่วยยืดอายุการใช้งานให้นานขึ้นได้
อีกสิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญไม่แพ้กันก็คือ
การตรวจตราอุปกรณ์ที่ใช้อย่างสม่ำเสมอว่ามการชำรุดทรุดโทรม
ผุกร่อน
หรือโค้งงอบ้างหรือไม่
และสัญญาณเตือนในการสังเกตการรั่วของรังสีที่สามารถทำได้ด้วยตัวเองก็คือ
ให้สังเกตว่าในระหว่างที่ใช้งานเตาไมโครเวฟอยู่นั้นเกิดคลื่นรบกวนเครื่องรับวิทยุหรือ
เครื่องรับโทรทัศน์
ที่อยู่ใกล้เคียงหรือไม่
ถ้าหากว่าคลื่นรับวิทยุไม่ชัด
หรือภาพในเครื่องรับโทรทัศน์พร่าเลือนทุกครั้งที่มีการใช้เตาไมโครเวฟ
และเป็นปกติหลังจากเลิกใช้เตา
ให้สันนัษฐานไว้ได้เลยว่าเตาไมโครเวฟที่ใช้อาจมีการรั่วของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
ถ้าหากต้องการนำเครื่องไมโครเวฟที่ใช้อยู่มาตรวจสอบเพื่อความมั่นใจ
ทางกองรังสีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
ก็มี บริการตรวจสอบการรั่วของรังสีให้แก่ประชาชนทั่วไป
ในราคาเครื่องละ
100 บาท
สนใจติดต่อได้ที่
กองรังสี
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
กระทรวงสาธารณ์สุข
โทรศัพท์
589-0022
อย่าวางใจในเทคโนโลยีที่อำนวนความสะดวกสบายให้เราจนลืมที่จะรู้เท่าทันมัน
เพราะบางครั้งความสะดวกสบายนี่แหละที่กลับมาทำร้ายเราเสียเอง
ข้อมูลจาก
:
นิตรสารชีวจิต
|