ใช้ตู้เย็นฉลาดอย่างมืออาชีพ |
ปัจจุบัน
ตู้เย็นกลายเป็นอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่จำเป็นต้องมีติดบ้าน
โดยเฉพาะคุณแม่บ้านด้วยแล้ว
แทบจะขาดเสียไม่ได้เลย
หลายคนมักคิดแต่จะเอกของไปแช่ไว้แล้วก็จบกัน
แต่อันที่จริงตู้เย็นไม่ใช่ห้องเก็บของ
หากผู้ใช้สามารถพิจารณาถึงการใช้อย่างถูกต้องและรู้ระดับอุณหภูมิที่เหมาะสม
การใช้ตู้เย็นก็จะมีประสิทธิภาพสูง
ช่องแช่แข็ง
(อุณหภูมิ -18°C)
เป็นช่องที่ให้ความเย็นสูงมากที่สุด
เหมาะกับการแช่อาหารที่ยังไม่รับประทานทันที
เช่น
เนื้อสัตว์ชิ้นใหญ่
แต่ควรหั่นเนื้อสัตว์ให้เป็นชิ้นเล็กๆ
ก่อน
เพื่อความสะดวกในการบริโภคภายหลัง
เพื่อป้องกันไม่ให้เนื้อติดกันเป็นก้อน
คุณแม่บ้านควรนำเนื้อสัตว์เหล่านี้ใส่ถุง
กล่องพลาสติก
หรือใส่จาน
แล้วหุ้มด้วยพลาสติกใสก่อนแช่
ถ้าเนื้อมีน้ำติดอยู่ก็ควรรีดน้ำออกหรือทำให้แห้งก่อน
ค่อยนำไปแช่
อย่าใส่เป็นชิ้นใหญ่ทีเดียว
ช่องแช่ผักและผลไม้
(อุณหภูมิ 6-8°C)
เหมาะสำหรับบรรจุผักและผลไม้
เมื่อจะนำเข้าในตู้เย็น
อย่าหั่นหรือทำอะไรทั้งสิ้น
ควรให้อยู่ในรูปเดิมและห่อหุ้มด้วยพลาสติกหรือถุง
(ไม่ผนึก)
เสียก่อน
ยกเว้นผลไม้เปลือกหนา
เช่น ส้ม
แตงโม
ซึ่งสามารถนำไปแช่ได้ทันที
หัวไชเท้า
ผักขึ้นฉ่าย
ควรเอกใบออกก่อน
หากมีหน่อหรือพบใบเสียให้เด็ดทิ้ง
แล้วจึงนำเข้าแช่
เพราะไม่เช่นนั้นอาจทำให้ผักอื่นๆ
การเก็บผักก็ควรตั้งผักไว้ในแนวยืน
อย่าวางทับกัน
ช่องเก็บของทั่วไป
(อุณหภูมิ 2-5°C)
เหมาะกับของที่บริโภคหรือใช้ยังไม่หมด
แล้วนำมาแช่ไว้สำหรับครั้งต่อไป
เช่น
เครื่องสำอาง
ยา
ขนมหวาน
สำหรับคุณแม่บ้านที่ซื้อของมาแล้ว
และนำเข้าแช่ทั้งถุงนั้นไม่ถูฏต้อง
ควรนำใส่ภาชนะที่สะอาด
มีฝาปิดมิดชิดก่อน
แล้วค่อยนำเข้าตู้เย็นจะช่วยป้องกันสารพิษปนเปื้อนที่มากับถุงพลาสติกหรือโฟม
ช่องใต้ช่องแช่แข็ง
(อุณหภูมิ -1
ถึง 1°C)
เป็นช่องสำหรับอาหารที่ซื้อมาจะกินทันทีภายใน
1 วัน เช่น
ปลา เนื้อ
แฮม
เห็ดโคน
อย่างไรก็ดีก่อนแช่ควรจะทำอาหารพวกนี้ให้แห้ง
และห่อปิดให้มิดชิดก่อน
เพื่อช่วยป้องกันการเกิดเชื้อจุลินทรีย์
ช่องประตูเปิด-ปิด
(บานพับ)
เหมาะสำหรับของที่ต้องหยิบใช้บ่อยๆ
เปิดปั้บมองเห็นของและหยิบใช้สอยง่ายและสะดวก
เช่น
น้ำดื่ม
น้ำขวด
ไวน์ นม
เป็นต้น
สำหรับการแช่แข็งให้มีประสิทธิภาพที่สุด
-
ควรเลือกอาหารที่สดและสะอาด
สำหรับอาหารกล่องควรตรวจดูวันหมดอายะและอุณหภูมิที่เหมาะสมบนกล่อง
-
อย่าวางอาหารปิดช่องลมเย็นโดยตรง
และไม่ควรวางอาหารตรงบริเวณหน้าช่องลมเย็นนานจนเกินไป
เพราะอาจทำให้อาหารแข็งได้
-
ปริมาณอาหารไม่มากนัก
ย่อมใช้เวลาในการแช่แข็งน้อย
- เขียนวัน
เดือน ปี
ที่เก็บอาหารติดไว้บนภาชนะที่เก็บ
เพื่อควบคุมความสดเสมอ
|