อาการซึมๆ
เศร้าๆ
ท้อแท้
เบื่อหน่ายซังกะตายกับชีวิตเป็นอาการของโรคทางจิตใจอย่างหนึ่งที่อาจเกิดขึ้นได้
ทั้งกับหญิงและชาย
แต่อย่างไรก็ดี
อาการดังกล่าวมักจะเกิดกับผู้หญิงบ่อยกว่าผู้ชาย
ซึ่งอาการดังกล่าวนั้นสามารถจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายได้อย่างมากมาย
เป็นต้นว่า
นอนไม่หลับหรือหลับๆ
ตื่นๆ
คิดเรื่องต่างๆฟุ้งซ่านตลอดเวลา
สมรรถภาพการทำงานถดถอย
หมดความสนใจในเรื่องทางเพศ
เบื่ออาหาร
น้ำหนักลด
ท้องผูก
ปวดศีรษะ
ปวดหลัง
และโรคกระเพาะ
ฯลฯ
หากยิ่งปล่อยตัวให้ตกอยู่ในภาวะดังกล่าวนานเท่าไหร่
คุณก็จะยิ่งมีความคิดในแง่ลบกับตัวเอง
รวมทั้งมองโลกในแง่ร้าย
บางคนอาจถึงขั้นคิดฆ่าตัวตายเลยก็มี
สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าในผู้หญิง
สิ่งที่มีผลทำให้ผู้หญิงเกิดอาการเศร้าซึมได้มากกว่าชายนั้นมีหลายสาเหตุ
เช่น
การเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมนเพศ
อันได้แก่
ฮอร์โมนแอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน
ซึ่งจะสามารถออกฤทธิ์กระตุ้นเนื้อเยื่อสมอง
ทำให้ผู้หญิงมีอาการซึมเศร้าในช่วงก่อนมีประจำเดือน
หรือในช่วงวัยที่หมดประจำเดือนไปแล้ว
นอกจากนั้น
พันธุกรรม
ที่ได้รับถ่ายทอดมากจากบรรพบุรุษก็อาจส่งผลให้เกิดอาการดังกล่าวได้
เมื่อมีเหตุการณ์
หรือบางสิ่งบางอย่างมากระตุ้น
และหากพื้นฐานทางจิตใจ
ตั้งแต่สมัยเด็กๆ
มีความเปราะบาง
หรือมีปมดอยบางอย่างอยู่
ก็จะยิ่งทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าขึ้นได้อย่างง่ายดาย
วิธีควบคุมและจัดการกับภาวะซึมเศร้า
โดยปกติเมื่อภาวะซึมเศร้าเกิดขึ้นกับผู้ใดแล้ว
ก็มักจะเกิดขึ้นซ้ำๆ
กับบุคคลผู้นั้นได้อีก
ฉะนั้นเมื่อรู้สึกว่าตัวเองกำลังตกอยู่ในภาวะดังกล่าว
ก็น่าที่จะรีบจัดการควบคุมไว้เสียก่อนที่อาการนั้นจะลุกกลามมาก
จนกระทั่งถึงขั้นทำลายชีวิตของคุณ
ซึ่งวิธีที่จะจัดการกับอาการดังกล่าวมีดังนี้
1.
การเขียนบันทึกประจำวัน
ซึ่งนอกจากจะช่วยทำให้คุณสามารถระบายความรู้สึกต่างๆ
ต่อเหตุการณ์ทั้งหลายทั้งปวงที่เกิดขึ้นกับคุณได้เป็นอย่างดีแล้ว
ยังช่วยให้คุณได้สำรวจตัวเองอยู่เสมอว่ากำลังอยู่ในอารมณ์แบบใด
และเมื่อใดที่คุณได้ย้อนกลับมาอ่านบันทึกนั้นดูอีกครั้งก็อาจช่วยให้คุณอารมณ์ดีขึ้นบ้างก็เป็นได้
2.
ออกกำลังกาย
ปกติคนที่ประสบกับภาวะดังกล่าวมักไม่มีอารมณ์อยากทำอะไร
แต่ถ้าหากได้ลองออกกำลังกายเพียงวันละ
15-20
นาทีเท่านั้น
สมองก็จะหลั่งสารเอ็นดอร์ฟินออกมา
ซึ่งจะช่วยให้ร่ายกายสบาย
และรู้สึกมีความสุข
3.
ให้รางวัลกับตัวเอง
เมื่อคุณสามารถทำอะไรได้สำเร็จ
แม้จะเป็นเพียงเรื่องเล็กๆ
น้อยๆ
แต่ถึงกระนั้นคุณก็สามารถจะให้รางวัลกับตัวเองได้เสมอ
4.
ไม่ปลีกตัวออกจากสังคม
ทั้งนี้เพราะการที่ได้พบปะพูดคุยกับเพื่อนๆ
หรือการไปเที่ยว
ดูหนังฟังเพลง
จะช่วยแบ่งเบาความเครียด
และช่วยให้คุณมีชีวิตชีวาไม่รู้สึกโดดเดี่ยว
5.
ไม่หันไปพึ่งสิ่งเสพย์ติด
ไม่ว่าจะเป็นบุหรี่
เหล้า
หรือยานอนหลัง
ที่ล้วนแล้วแต่จะยิ่งทำให้สุขภาพทรุดโทรมลง
6.
ปรึกษาและขอคำแนะนำจากแพทย์
เพราะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
จะสามารถวินิจฉัยอาการของคุณได้ดีที่สุด
ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยเข้าใจตนเองและแก้ไขปัญหาภายในจิตใจของตนเองได้ดีขึ้น
7.
แพทย์อาจให้ยาระงับอาการซึมเศร้าหรือฮอร์โมน
แต่ถ้าอาการเป็นอาจต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลจนกว่าอาการจะเริ่มดีขึ้น
และอาจให้สมาคมกับเพื่อนๆ
ที่มีปัญหาคล้ายคลึงกัน
ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยหายเร็วยิ่งขึ้น