กับส่วนที่น่าจะเป็นเนื้อร้ายได้อย่างไร
ควรทำอย่างไรเมื่อตรวจพบก้อนเนื้อในเต้านม
หน้าอกปรกติจะมีก้อนเนื้ออยู่บางส่วน
และจะเปลี่ยนลักษณะระหว่างระยะมีรอบเดือน
การตรวจด้วยตนเองทุกเดือนจะทำให้คุณรู้ว่ามีก้อนเนื้อใหม่เกิดขึ้น
หรือเป็นก้อนเนื้อที่เปลี่ยนรูปร่าง
ปรึกษาแพทย์ถ้าคุณพบก้อนเนื้อแข็งแน่นใต้วงแขน
หรือพบก้อนเนื้อที่แข็งแรง
หรือมีขนาดผิดปรกติ
หรือก้อนเนื้อที่ไม่เปลี่ยนขนาดเวลาคุณมีรอบเดือน
แพทย์จะตรวจสภาพของก้อนเนื้อด้วยการฉายรังสีเอ็กซเรย์
หรือเรียกว่าการทำเมมโมแกรม
และวิธีเดียวที่จะรู้ว่าก้อนเนื้อนั้นเป็นเนื้อร้ายหรือไม่นั้น
แพทย์จะนำเนื้อเยื่อส่วนนั้นบางส่วนมาวิเคราะห์ต่อไป
ถ้ามีประจำเดือนตั้งแต่อายุน้อย
จะมีสิทธิ์เป็นมะเร็งได้มากน้อยเพียงใด
ยิ่งผู้หญิงมีช่วงเวลาไข่ตกมากเท่าไหร่
หรือหมายถึงยิ่งมีรอบเดือนมากครั้งเท่าไหร่โดยไม่ได้ตั้งครรภ์
ก็จะยิ่งมีฮอร์โมนมากเท่านั้น
ซึ่งก็มีผลก่อให้เกิดมะเร็งได้
ดังนั้นผู้หญิงที่เริ่มมีประจำเดือนตั้งแต่อายุน้อยๆ
( ก่อนอายุ 12
)
หรือไม่มีบุตร
หรือมีบุตรหลังอายุ
30
หรือมีประจำเดือนหมดช้า
( หลังอายุ 55
)
ค่อนข้างมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นมะเร็ง
การบริโภคไขมันปริมาณมาก
เพิ่มความเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมหรือไม่
ถึงแม้ว่ายังไม่มีการพิสูจน์ความเกี่ยวข้องกันระหว่างไขมันกับมะเร็ง
แต่ประเทศอย่างอเมริกาและอังกฤษ
(
ซึ่งประชากรบริโภคอาหารไขมันสูงมากกว่าประชากรในแถบอื่น
)
มีแนวโน้มที่จะมีจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งเต้านมมากกว่า
ขณะที่ประเทศอย่างไทย
ญี่ปุ่น (
ซึ่งมีอาหารการกินที่มีไขมันต่ำกว่า
)
อัตราผู้ป่วยด้วยโรคนี้ก็ต่ำกว่าที่อื่นด้วย
เหตุผลหนึ่งอาจเป็นเพราะไขมันในอาหารทำให้เกิดโรคอ้วน
ซึ่งเซลล์มะเร็งจะเติบโตได้ดีในสภาพแวดล้อมที่มีเซลล์ซึ่งอุดมด้วยสารอาหารมากเกินไป
การออกกำลังกายลดความเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมจริงหรือ
จากการศึกษาพบว่าผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่ออกกำลัง
4
ชั่วโมงหรือมากกว่านั้น
ใน 1
สัปดาห์
จะลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมได้มากถึง
37%
การออกกำลังกายป้องกันคุณจากโรคร้ายโดยลดไขมันสะสมในร่างกายซึ่งผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนช่วยลดปริมาณฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ไหลเวียนในร่างกายและเพิ่มภูมิคุ้มกัน
การบีบ
หรือชนหน้าอกอย่างรุนแรงทำให้เกิดมะเร็งเต้านมได้หรือไม่
ไม่มีทาง
การเฃจับต้องเนื้อบริเวณหน้าอกไม่เป็นสาเหตุให้เกิดมะเร็งหรือไม่ทำให้มะเร็งลุกลาม
การผ่าตัดหรือเพิ่มขนาดหน้าอกเพิ่มความเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมหรือไม่
ในปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานยืนยันว่าการลด
หรือเพิ่มขนาดหน้าอกจะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม
แต่วัตถุที่ใส่เข้าไปในหน้าอก
อาจทำให้การตรวจเนื้องอกด้วยการเมมโมแกรมทำได้ยากขึ้น
นอกจากการสำรวจร่างกายพื้นฐานเบื้องต้น
6 ข้อนี้
เรายังมีเคล็ดลับการไขปัญหาเด็ดข้อสุดท้ายไว้รอคุณอยู่
คิดว่าสาวๆคงสนใจประเด็นนี้กันเป็นอย่างมาก
เป็นอีกโรคหนึ่งที่ผู้หญิงน่าจะระวังไว้
จากสถิติพบว่าผู้หญิงที่อยู่ในวัย
20 ปี
มีโอกาสสูงที่จะเสียชีวิตด้วยโรคนี้
และจากข้อมูลพบว่าผู้หญิงทุกวัยมีโอกาสรอดชีวิตอยู่ได้
ภายใน 5 ปี
หลังจากตรวจพบโรคนี้ได้มากถึง
84%
และสูงถึง
96.5%
ถ้าตรวจพบโรคนี้แต่เนิ่นๆหรือเมื่อพบในระยะที่เนื้อร้ายยังไม่แพร่กระจาย
วิธีง่ายๆเมื่อคุณต้องตรวจเมมโมแกรม
1.
ไปตรวจในช่วงที่ไม่มีประจำเดือน
เพราะในช่วงมีประจำเดือนหน้าอกคุณจะเซนซิทีฟมากเป็นพิเศษ
2.
ลดคาเฟอีนทุกอย่าง
โดยเฉพาะกาแฟ
หนึ่งสัปดาห์ก่อนไปตรวจ
และให้กินวิตามินอี
ก่อนล่วงหน้า
2- 3 สัปดาห์
3.
กินยาแก้ปวดก่อนการตรวจ
1 ชั่วโมง
และหลังการตรวจถ้าจำเป็น
4.
บอกเจ้าหน้าที่
หรือแพทย์ระหว่างการตรวจ
ถ้าคุณรู้สึกเจ็บ
หรืออึดอัด
หน้าอกจะถูกกดทับแผ่นเอ็กซเรย์
แต่เจ้าหน้าที่ก็สามารถจัดให้คุณรู้สึกสบายที่สุดเช่นกัน